ข้อมูลพื้นฐานอำเภอพาน
1. ข้อมูลกายภาพพื้นที่อำเภอพาน
ประวัติความเป็นมา
อำเภอพานเดิมได้ปกครองตามระบอบ "พ่อเมือง" ที่ทำการตั้งอยู่ที่บ้านฝั่งตื้น ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 8 ต.ม่วงคำ พ่อเมืองนี้ขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ปกครองนครลำพูน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2450 ทางราชการได้เปลี่ยนฐานะการปกครองจาก ระบอบพ่อเมืองขึ้นเป็นกิ่งอำเภอโดยมีปลัดอำเภอ เป็นปลัดกิ่งอำเภอมาประจำ เรียกว่า "กิ่งอำเภอเมืองพาน" ต่อได้โอนกิ่งอำเภอเมืองพานเข้าไปอยู่กับ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ครั้นถึง พ.ศ.2451 ได้ขึ้นตรงต่ออำเภอแม่ใจ จ.พะเยา เมื่อปี พ.ศ.2455 ได้ยกฐานะกิ่งอำเภอเมืองพาน แล้วยุบ อ.แม่ใจ และเขตอำเภอเมืองเชียงรายบางส่วน ให้ขึ้นกับอำเภอเมืองพาน และย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านฝั่งตื้นไปตั้งที่ตำบลเมืองพาน อันเป็นที่ทำการอำเภอปัจจุบันมีนามว่า "อำเภอเมืองพาน" ซึ่งต่อมาทางราชการได้สั่งให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่ว่า "อำเภอพาน" เพราะชื่อคำว่า "เมือง" ไปตรงกับอำเภอเมืองเชียงราย ฉะนั้นอำเภอเมืองพาน จึงตัดคำว่าเมืองออกไป คงเรียกว่า "อำเภอพาน" มาจนกระทั่งทุกวันนี้
อำเภอพาน เป็นอำเภอหนึ่งใน 18 อำเภอของจังหวัดเชียงราย เป็นอำเภอที่อยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัดเชียงราย ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,023 กิโลเมตร หรือประมาณ 639,375 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.76 ของจังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย , อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา , อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอพาน แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 15 ตำบล จำนวน 234 หมู่บ้าน ดังนี้1.ต.สันมะเค็ด (San Makhet) มี 19 หมู่บ้าน
2.ต.แม่อ้อ (Mae O) มี 20 หมู่บ้าน
3.ต.ธารทอง (Than Thong) มี 11 หมู่บ้าน
4.ต.สันติสุข (Santi Suk) มี 9 หมู่บ้าน
5.ต.ดอยงาม (Doi Ngam) มี 14 หมู่บ้าน
6.ต.หัวง้ม (Hua Ngom) มี 13 หมู่บ้าน
7.ต.เจริญเมือง (Charoen Mueang) มี 22 หมู่บ้าน
8.ต.ป่าหุ่ง (Pa Hung) มี 18 หมู่บ้าน
9.ต.ม่วงคำ (Muang Kham) มี 17 หมู่บ้าน
10.ต.ทรายขาว (Sai Khao) มี 17 หมู่บ้าน
11.ต.สันกลาง (San Klang) มี 18 หมู่บ้าน
12.ต.แม่เย็น(Mae Yen) มี 11 หมู่บ้าน
13.ต.เมืองพาน (Mueang Phan) มี 25 หมู่บ้าน
14.ทานตะวัน (Than Tawan) มี 12 หมู่บ้าน
15.ต.เวียงห้าว (Wiang Hao) มี 8 หมู่บ้าน
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1. อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาข้าว ปลูกลำไย ลิ้นจี่ปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ
ประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลานิล ฯลฯ
2. อาชีพเสริม ได้แก่ ทำอุตสาหกรรมพื้นบ้านและอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้า จันสาน ตีมีด
3. จำนวนธนาคาร มี 5 แห่ง ได้แก่
ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน) โทร. 0-5372-1371
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ( มหาชน) โทร. 0-5372-1251-5
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 0-5372-1212
ธนาคารออมสิน โทร. 0-5372-1524
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน) โทร. 0-5372-1234-6
4. จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 1 แห่ง
ข้อมูลด้านสังคม
1. โรงเรียนมัธยม จำนวน 6 แห่ง ได้แก่โรงเรียนพานพิทยาคม โทร. 0-5372-1512
โรงเรียนพานพิเศษพิทยา โทร. 0-5372-1913
โรงเรียนนครวิทยาคม โทร. 0-5367-7477
โรงเรียนแม่อ้อวิทยาคม โทร. 0-5367-1589
โรงเรียนดอยงามวิทยาคม โทร. 0-5360-4599
สถาบันวิชาชีพ ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย
โทร. 0-5395-8055
2. มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตล้านนาเชียงราย
โทร. 0-5372-9600-5
ด้านประชากร
1. จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 119,134 คน
2. จำนวนประชากรชาย รวม 58,968 คน
3. จำนวนประชากรหญิง รวม 60,166 คน
4. ความหนาแน่นของประชากร 117.32 คน/ตร.กม.
ด้านการคมนาคม
1. ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์ -
- สถานีรถไฟ หมายเลขโทรศัพท์ -
2. ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร หมายเลขโทรศัพท์ -
- ท่าแพขนานยนต์ หมายเลขโทรศัพท์ -
3. ทางอากาศ - ท่าอากาศยาน หมายเลขโทรศัพท์ -
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1. ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ลำไย ลิ้นจี่ แก้วมังกร
2. ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
( แม่น้ำ/บึง/คลอง) แม่น้ำส้าน แม่น้ำลาว แม่น้ำฮ่าง หนองฮ่าง แม่น้ำคาว
3. โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทไทยคอสมอสฟูดส์ จำกัด
บริษัทแฟมิลี่บี จำกัด
ด้านสถาบันการศึกษา ดังนี้
- สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเชียงราย 1 แห่ง
- ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย 1 แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพาน 1 แห่ง
- กศน.ตำบล 15 แห่ง
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 5 แห่ง
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา 85 แห่ง
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน 6 แห่ง
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ 1 แห่ง
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม – บาลี 12 แห่ง
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 6 แห่ง
- ห้องสมุดประจำอำเภอ 1 แห่ง
ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
- ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98 นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 2 เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม- วัด มีจำนวน 147 วัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 91 วัด ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 56 วัด
- ที่พักสงฆ์ 56 แห่ง
- โบสถ์โปแตสแตนท์ 5 แห่ง
- โบสถ์คาทอลิก 1 แห่ง
- ศาลเจ้า 2 แห่ง
- โบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร 2 แห่ง
- ค่ายลูกเสือจังหวัดเชียงราย ในเขตพื้นที่อำเภอพาน 1 แห่ง
- สนามกีฬาอำเภอพาน 1 แห่ง
- ศูนย์ส่งเสริมพลานามัยตำบล 4 แห่ง อำเภอ 1 แห่ง
- สภาวัฒนธรรมอำเภอ 1 แห่ง สภาวัฒนธรรมตำบล 15 แห่ง
- โบราณสถานที่สำคัญ พระธาตุจอมแว่ พระธาตุจอมแจ้ง พระธาตุจอมรุ่ง พระธาตุสามดวง พระธาตุเจริญเมือง พระธาตุผาเรือ พระธาตุขวยปู พระธาตุแก้วทันใจ พระธาตุดงมีชัย พระธาตุกู่แก้ว พระบาทตากผ้า พระกัป พระธาตุก่ำพร้าวัวทอง เวียงปู่ย่า(คูคันดิน) เวียงอ้อย(คูเมือง) เจดีย์สะดือเมือง เวียงหวาย(คูเมือง) เจดีย์กู่เต้า พระกร๋าย(พระธาตุช้างหิน) เมืองแจ่พราน (คูคันดิน) เจดีย์กู่สูง โขงฤาษี(ซุ้มประตู) เจดีย์สันกู่ เวียงแช่ (คูคันดิน) เวียงหวาย ถ้ำพระนิคม
ด้านสาธารณสุข
มีสถานพยาบาลแผนปัจจุบัน เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1 แห่ง สำนักงานสาธารณสุข 1 แห่ง สถานีอนามัยตำบล 20 แห่ง สถานพยาบาลเอกชน 7 แห่ง ทันตกรรม 1 แห่งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อำเภอพานมีพื้นที่ทั้งหมด 639,375 ไร่ (1,023 ตร.กม.) มีพื้นที่ป่าไม้รวมทั้งหมด 233,125 ไร่ อยู่ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งขวาป่าแม่ส้านและป่าแม่ใจ (อุทยานแห่งชาติดอยหลวง)จำนวน 136,500 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยต้นยางและป่าห้วยแม่แก้ว จำนวน 50,000 ไร่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปืม – แม่พุง จำนวน 46,625มีระบบชลประทานแม่ลาว เป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ส่งน้ำสูงสุด 26.317 ลบ.ม./วินาที ส่งน้ำให้กับพื้นที่บางส่วนในเขต ต.ธารทอง, ทรายขาว, เจริญเมือง, สันติสุข, สันมะเค็ด, สันกลาง, ดอยงาม, ป่าหุ่ง, เมืองพาน, หัวง้ม, ม่วงคำ, แม่เย็น, ทานตะวัน รวมพื้นที่ส่งน้ำประมาณ 112,311.02 ไร่
อำเภอพานมีถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (พหลโยธิน) และถนนทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1126 เป็นเส้นทางหลัก
มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตกปูแกง (อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง) บ่อน้ำร้อนห้วยทรายขาว ถ้ำผาโขงหรือถ้ำน้ำลอด ถ้ำผายาว หนองถ้ำ
หนองผา และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ คือ ศาลพระจี้กงหน่ำพิ้งฮง เป็นต้น